EBITDA vs Operating Profit

ความเดิมตอนที่แล้วเขียนเรื่องค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ไป ก็เพื่อมาตอบคำถามนี้จากมิตรสหายท่านหนึ่งว่า Operating Profit กับ EBITDA ต่างกันยังไง?คำตอบคือ EBITDA คือ Operating Profit ที่บวกกลับค่าเสื่อม-ค่าตัดจำหน่าย (Depraciation, Amortization : DA) เข้าไป คำถามต่อมาก็คือจะบวกกลับทำไม ดูอะไรกันแน่

เริ่มต้นด้วยวิธีรายงานงบกำไรขาดทุนก่อน Steps ในการรายงานนั้นโดยทั่วไปจะ รายงานกำไร 3 รอบแบบนี้

  • รายได้ ลบ ต้นทุน = กำไรขั้นต้น (Gross Profit)
  • กำไรขั้นต้น ลบ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) = กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) บางทีก็เรียกว่า EBIT
  • กำไรจากการดำเนินงาน ลบ ดอกเบี้ย, ภาษี ฯลฯ = กำไรสุทธิ (Net Profit)

EBIT ย่อมาจากคำว่า Earning Before Interest and Tax ถ้าดูตามขั้นตอนการรายงานกำไรขาดทุน จะเห็นว่า Net นั้นต้องคิดดอกเบี้ยกับภาษี ซึ่งนักบัญชีมองว่าเป็นสองรายการนี้ที่ไม่ได้สะท้อนการดำเนินงานของกิจการ เลยให้แยกบรรทัด EBIT ขึ้นมาก่อนไปหา Net เพื่อให้เห็นภาพ

แต่ถึงอย่างนั้น EBIT ก็มีการหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายหลายอย่าง ซึ่งไม่ใช่รายการเงินสด ตัวหลักก็คือค่าเสื่อมกับค่าตัดจำหน่าย จึงมีแนวคิดที่จะหาตัวเลขซึ่งสะท้อน ผลการดำเนินงานกิจการ โดยเอาเฉพาะรายจ่ายที่เป็นเงินและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโดยตรง จึงมีการกลับรายการ โดยเอาค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) บวกคืนไป ออกมาเป็น EBITDA นั่นเอง (ซึ่งก็ย่อมาจาก Earning Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization)

สาเหตุที่งบกำไรขาดทุนไม่สามารถแสดง EBITDA ได้เลย เพราะ D กับ A นั้นสามารถอยู่ในรูปรายจ่ายที่ปนอยู่ทั้งส่วนของ ต้นทุน และค่าใช้จ่ายการขาย ถ้าจะแสดงก็ต้องแสดงแยกต่างหาก ในทีนี้จะยกตัวอย่างงบกำไรขาดทุนบริษัทหนึ่ง ในงบที่ยกมา จะเห็นว่ารายการ DA มีการหักทั้งสองช่วง

ในท้ายรายการก็มีการแสดง EBITDA โดยเอาบรรทัด Operating Profit (EBIT) มาบวก DA และรายการอื่นกลับเข้าไปได้ EBITDA จะเห็นว่าถ้าไม่มี DA ก็ได้คืนมาเยอะทีเดียว

EBITDA ช่วยสะท้อนประสิทธิภาพการดำเนินงานในงวดที่รายงาน โดยตัดปัจจัยภายนอกและผลจากอดีต (ค่าใช้จ่าย DA เป็นผลจากการลงทุนในอดีต) ซึ่งสามารถใช้ประเมินกิจการได้ในอีกวิธีนั่นเอง