
ในยุคที่การนำเสนอข้อมูลต่างๆ เราต้องการการอ้างอิงที่เชื่อถือได้ วิธีการทางสถิติถูกใช้เพื่อนำเสนอให้ข้อมูลเหล่านั้น "ดูน่าเชื่อถือ" มากขึ้นกว่าเดิม แต่กลับกลายเป็นสถิติที่ใช้ผ่านการบิดเบือน หรือเล่าครึ่งเดียว เพื่อหวังผลในทางที่ผู้นำเสนอต้องการ แต่ไม่ถูกต้องตามความจริงที่ควรเป็น หนังสือเล่มนี้อธิบายรูปแบบการบิดเบือนทางสถิติที่นิยมใช้เพื่อหลอกล่อผู้อ่าน
หนังสือบอกว่ากลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์จากการนำเสนอข้อมูลแบบบิดเบือนด้วยการนำสถิติมารองรับ คือบรรดานักสถิติ, สื่อมวลชน และนักการตลาดโฆษณา ถ้าคุณพอเข้าใจกระบวนการที่ผิดพลาดที่พบบ่อยทางสถิติ เรื่องในหนังสืออาจไม่ใหม่มาก แต่ก็ยังมีมุมปลีกย่อยอีกหลายอย่าง
- การใช้กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือบางครั้งวิธีสำรวจ ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องเอง
- การเลือกค่ากลางแบบบิดเบือน ระหว่าง Mean (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต), Median (มัธยฐาน) และ Mode (ฐานนิยม)
- บอกไม่ครบ เช่น 90% ผู้ใช้พึงพอใจ แต่ไม่บอกว่าสำรวจแค่คน 10 คน ในประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม
- ค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน อาจไม่ได้มีนัยสำคัญ (ไม่ดู S.D. ประกอบ)
- การวาด Chart หรือภาพประกอบ เพื่อสร้างความแตกต่างข้อมูลให้เกินจริง
- การอ้างเหตุ 2 อย่างว่าเกี่ยวข้องกัน (มี Correlation สูง) แต่อาจเป็นเรื่องบังเอิญ หรือตัวแปรต้น-ตาม สลับที่กัน
- การอ้าง % ที่เปลี่ยนแปลง แต่เจตนาเลือกปีฐาน (base) เพื่อให้ตัวเลข % ออกมาอย่างที่ต้องการ
3 comments:
พี่หมายถึง correlation หรือเปล่าครับ มันเป็น cor- ไม่ใช่ co-
แก้แล้วฮะ
Post a Comment