เถ้าแก่น้อยมีสินค้าหลายอย่าง แต่รวมๆ ก็เป็นผลิตภัณฑ์สาหร่าย |
เถ้าแก่น้อยเป็นอีกบริษัทที่จัดว่ามีซีอีโอเป็นผู้ทำการตลาดเอง คือคุณต๊อบ อิทธิพัทธ์ (ถ้าบอกว่าไม่รู้จัก นี่ๆ แฟนเพจเค้ามีคนไลก์เป็นล้านนะเออ) รวมทั้งมีเรื่องราวเล่าออกมามากมาย รวมถึงเป็นภาพยนตร์ของ GTH เรื่องวัยรุ่นพันล้าน ฉะนั้นถ้าถามว่าหุ้นนี้มีสตอรี่ไหมก็ต้องบอกว่ามีอยู่แล้วเยอะมาก
ทีนี้เราก็มาดูข้อมูลที่น่าสนใจของ TKN จากไฟลิ่งกันครับ
![]() |
ต๊อบ อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ซีอีโอ TKN (เสื้อดำ คนที่2จากซ้าย) |
สินค้าและโครงสร้างบริษัท
TKN มีสินค้าหลักคือสาหร่ายทอด แบรนด์เถ้าแก่น้อย ซึ่งถือสินค้าหลักและคู่แข่งสู้ได้ยาก ปัจจุบันมียอดขายคิดเป็น 60% ของรายได้รวม ที่เหลือมาจากสาหร่ายย่าง (33%) นอกนั้นเป็นพวกสาหร่ายเทมปุระ, สาหร่ายอบ, ป๊อปคอร์น ฯลฯ ซึ่งธีมที่ใช้ขายสาหร่ายมานานก็คือเป็นสแน็คที่มีประโยชน์ ฯลฯ

มีข้อมูลน่าสนใจว่าสาหร่ายที่เป็นวัตถุดิบนั้นมากกว่า 90% นำเข้าจากเกาหลี ส่วนในด้านการผลิตตอนนี้มีโรงงานเหลือเพียง 1 แห่งที่นพวงศ์ (อัตราผลิตตอนนี้ 69%) โดยมีแผนขยายโรงงานใหม่ที่นิคมฯ โรจนะ ซึ่งจะเปิดในปี 2559
ธุรกิจอื่นที่ TKN เป็นเจ้าของและสร้าง synergy กันก็มี (1) TKNRF ทำร้านค้าปลีกเถ้าแก่น้อยแลนด์ จำหน่ายขนม ซึ่งดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะปี 2558 ปิดไปถึง 15 สาขา ปัจจุบันมีเหลืออยู่ 5 สาขาเท่านั้น ในไฟลิ่งระบุว่า TKNRF ตอนนี้แก้เกมโดยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้ากับร้านของฝากในแหล่งท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ซึ่งน่าจะดีกว่า
![]() |
ร้านเถ้าแก่น้อยแลนด์ (ภาพ WSJ) |
(2) บ.ว้อนท์มอร์ (WMI) เป็นธุรกิจซื้อมาขายไปขนมขบเคี้ยวต่างๆ เน้นไปที่ผลไม้อบแห้ง และ (3) NCP บริษัทผลิตผงปรุงรสไว้ใส่ในขนม ซึ่งเถ้าแก่น้อยซื้อหุ้นทั้งหมดในปี 54
TKN นั้นถือเป็นบริษัทที่ขายสแน็คแบบเพียวๆ บริษัทแรกในตลาดหุ้น (PM มีทาโร่, BJC มีเทสโต) ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจสภาพตลาดสแน็ค เลยเอาข้อมูลเสริมมาแปะ อันนี้เป็นสไลด์เก่าหน่อยของโออิชิเมื่อปี 2555 ให้เห็นว่าตลาดขนมขบเคี้ยวในไทยอยู่กันยังไง ผู้เล่นหลักคือมันฝรั่งทอด กับพวกขนมทำจากแป้งทั้งหลาย (ปาปริก้า โปเต้ คอนเน่) สาหร่ายมีแชร์ประมาณ 10% และก็ไม่ขยับมาก

พอมาดูมาร์เกตแชร์ของกลุ่มสาหร่ายกันเอง เถ้าแก่น้อยก็เป็น leader ด้วยแชร์ประมาณ 60% ขณะที่เบอร์สองคือมาชิตะ ของเบียร์สิงห์ 14% และซีลีโกะ 7%
ตลาดที่เถ้าแก่น้อยเห็นโอกาสตอนนี้และรุกหนักคือต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน สัดส่วนยอดขายล่าสุดไทย/ต่างประเทศ ก็อยู่ที่ 50/50 แล้ว โดยมีจีนที่เติบโตสูงมากเนื่องจากสาหร่ายทอดกำลังเป็นเทรนด์ (ครับ...จีนนี่ก็จีนจริงๆ) ในส่วนของยอดขายในประเทศนั้นประมาณ 35% ก็มาจากค้าปลีกรายหนึ่งรายเดียวด้วย (เข้าใจว่าเป็น 7-Eleven)
สาหร่าย Postcard รูปช้างและรถตุ๊กตุ๊ก ที่เน้นตลาดลูกค้าชาวจีน |
ในแง่ของความเป็นสแน็คนั้นมีข้อมูลน่าสนใจจากคุณต๊อบเอง ว่าจริงๆ เมืองไทยเนี่ยแหละที่เอาสาหร่ายมาทอดทำเป็นสแน็ค ขณะที่ประเทศอื่นในเอเชียเขาไม่ได้กินกัน อย่างญี่ปุ่นหรือเกาหลีที่เป็นต้นตำรับสาหร่าย เขาก็ใช้กินเป็นมื้อหลัก ฉะนั้นยังมีโอกาสที่จะเปิดประตูสแน็คสาหร่ายแม้แต่ในตลาดใหญ่แบบนั้น
![]() |
ญี่ปุ่นก็พยายามทำตลาดอยู่ |
งบการเงิน
- รายได้ปี 57 อยู่ที่ 2,700 ล้านบาท (โตมากไหมก็ดูว่าปี'53 ยอดขาย1,500ล้าน) ส่วนปี 58 งบ9เดือน 2,500 ล้าน จากการเติบโตของตลาดประเทศจีน
- อัตรากำไรขั้นต้น 35% แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายการขาย-บริหาร ก็เหลือประมาณ 10%
- หนี้สินส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ระยะสั้น+เจ้าหนี้การค้า ส่วนเงินกู้ระยะยาวมีเล็กน้อย
โครงสร้างรายได้ |
จีนคือตลาดสำคัญตลาดใหม่ที่เติบโตเร็วมาก (เอ้...ธีมนี้คุ้นๆ สวยๆ นะ) |
ไอพีโอ
- TKN ขายหุ้นเพิ่มทุน 360 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 4.00 บาท (พาร์ 0.25) คิดเป็น 26.09% ของหุ้นรวม
- ตระกูลพีระเดชาพันธ์ จะถือหุ้นรวม 73.91% หลังไอพีโอ
- PE ที่ราคาเสนอขายคิดเป็น 16.42 เท่า (eps 0.24) โดยไม่มีตัวเปรียบเทียบที่ชัดเจน (OISHI 25.3, ICHI 23.09, SAPPE 28.14, PM 14.00, PB 18.28)
- เงินเพิ่มทุน จะนำไปขยายโรงงานใหม่ที่โรจนะ 560 ล้านบาท, ซื้อเครื่องจักร 100 ล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินทุนหมุนเวียน
- เอเซียพลัส เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและอันเดอร์ไรท์
No comments:
Post a Comment